Blockchain Technology คำตอบสุดท้ายสำหรับการเลือกตั้ง?

Pakorn AJ Leesakul
3 min readMar 27, 2019

--

บทความนี้ผมพยายามเขียนให้ผู้อ่านทุกท่านสามารถอ่านแล้วเข้าใจได้โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางด้าน technology แต่ศัพท์บางคำไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้จริงๆ จะมี technical term ประมาณ 20%

ผ่านไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วกับการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรครั้งประวัติศาสตร์ของประเทศไทย นับเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกในรอบ 5 ปี หลังรัฐประหารในปี พ.ศ. 2557

ซึ่งกำกับดูแลการเลือกตั้งโดย คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ประเทศไทย) หรือ ที่เรารู้จักกันในนาม กกต.

รายชื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดปัจจุบัน https://www.ect.go.th/ect_th/news_page.php?nid=866

ด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมากมายในระหว่างกระบวนการนับคะแนน หลายๆคนคงจะนึกสงสัยในใจว่าเพราะเหตุใดเรายังใช้ปากกาและการลงนามใช้สิทธิ และยังคงใช้วิธีนับบัตรเลือกตั้งแบบ manual หรือ อัตโนมือ ทั้งๆ ที่เรากำลังขับเคลื่อนประเทศไทยเข้าสู่ Thailand 4.0 แท้ๆ

ทุกคนน่าจะมีคำถามมากมายเกี่ยวกับระบบการเลือกตั้ง (รวมทั้งตัวผมเองก็เช่นกัน) ตัวอย่างเช่น

  • ทำไมเราไม่ใช้ระบบ card reader อ่านบัตรประชาชนเพื่อยืนยันตัวตน
  • เรามีวิธีการยืนยันตัวตนที่ดีกว่าการแสดงบัตรประชาชนให้เจ้าหน้าที่ และเซ็นชื่อลงบนต้นขั้วบัตรหรือไม่
  • ทำไมเราไม่ใช้ระบบกด vote ที่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อนับคะแนน
  • ถ้าเราใช้ระบบคอมพิวเตอร์เข้ามานับคะแนนแทนคนจะทำให้มีความน่าเชื่อถือเพิ่มมากขึ้นแค่ไหน
  • Blockchain Technology จะทำให้การเลือกตั้งโปร่งใส่และตรวจสอบได้มากกว่าเดิมมั้ย

บทความนี้ผมจะขอแชร์มุมมองเกี่ยวกับการนำ Blockchain Technology และ Digital Technology เข้ามาช่วยในการพัฒนาระบบการเลือกตั้ง

ทั้งหมดเป็นเพียงมุมมองจากประสบการณ์ในการทำงานส่วนตัวเท่านั้น :)

กระบวนการทำงานของระบบเลือกตั้งแบ่งออกเป็น 5 ส่วนหลักๆ ด้วยกัน

1. ฐานข้อมูลผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

ความถูกต้องของฐานข้อมูลผู้มีสิทธิเลือกตั้ง คือ ส่วนสำคัญส่วนแรก

ข้อมูลผู้มีสิิทธิเลือกตั้งทั้งหมด ควรเปิดให้เข้าถึงได้โดยสาธารณะ (Open Data) ควรมีที่มาที่ไปชัดเจน ต้องมีสิทธิเลือกตั้งจริงและยังมีชีวิตอยู่

2. สิทธิการเข้าถึงฐานข้อมูลผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

การกำหนดสิทธิการเข้าถึงฐานข้อมูลผู้สิทธิเลือกตั้ง ต้องมีนโยบายที่ชัดเจน ว่าหน่วยงานใดและการเจ้าหน้าที่คนใด สามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้บ้าง เพื่อป้องกันการปลอมแปลงหรือนำเข้าข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเข้าสู่ระบบ

ต้องมีการจัดเก็บ Access Log การเข้าถึงฐานข้อมูลย้อนหลังตามจำนวนวันที่กำหนด

3. การยืนยันตัวตน (Identity Proofing)

การแสดงตัวตนเพื่อยืนยันสิทธิการเลือกตั้ง อ้างอิงจากกำหนดมาตรฐานการยืนยันตัวตน จากแผนแม่บท Digital ID ของประเทศไทย

มาตรฐานการยืนยันตัวตนขั้นต่ำของระบบเลือกตั้งอย่างน้อยควรจะเป็น IAL Level 2 คือ เทียบข้อมูลหลักฐานแสดงตน กับ ผู้ให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ (AS) เช่น DOPA พร้อมตรวจสอบกับตัวบุคคลที่นำหลักฐานมาแสดงตน (ด้วยเจ้าหน้าที่ ณ​ หน่วยเลือกตั้ง)

ณ ปัจจุบันเราควรใช้ technology มาช่วยให้การตรวจสอบและยืนยันตัวตน เช่น Face Recognation, Finger Scan เพื่อทำการเปรียบเทียบข้อมูลภายในบัตรกับลักษณะที่ปรากฏ แทนที่การใช้เจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบ

4. ระบบการลงคะแนน (Voting)

เมื่อเรายืนยันตัวตนเสร็จเรียบร้อย เมื่อทำการยืนยันตัวตนสำเร็จ ระบบจะทำการสร้างกุญแจส่วนตัว หรือ ที่เราเรียกว่า Private Key ที่จะสามารถเข้าถึง Wallet ที่ถูกสร้างขึ้นมาในระบบ พร้อมทั้งมอบ Token ที่สำหรับใช้การลงคะแนนจำนวน 1 Token

Related image

Token — คือ เหรียญสมมติที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการบันทึกสิทธิการลงคะแนน

Token จะถูกบรรจุอยู่ใน Wallet ของคุณและจะถูกโอนเข้าสู่ Address ของผู้สมัคร ทันที่คุณกดลงคะแนน

ผู้สมัครแต่ละคนจะมี Wallet Address ประจำตัว เพื่อเก็บ Token ที่ทุกๆคนโอนให้

ตัวอย่าง 1F1tAaz5x1HUXrCNLbtMDqcw6o5GNn4xqX

1F1tAaz5x1HUXrCNLbtMDqcw6o5GNn4xqX

Private Key ที่เข้าถึง Wallet Address ของผู้สมัครจะถูกทำลายทิ้งทั้งหมดทันทีที่สร้าง Wallet ขึ้นมา ส่งผลให้จะไม่มีใครเข้าถึง Wallet Address ของผู้สมัครทุกคนได้

ระบบจะสร้าง Token ไว้เท่ากับจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ฐานข้อมูลระบุไว้ จำนวน Token ที่จะถูกใช้งานสำหรับลงคะแนนจะต้องมีจำนวนเท่ากับ ‘ผู้มาใช้สิทธิ’

แปลว่าเราจะไม่มีวันมีจำนวนผู้มาใช้สิทธิไม่ตรงกับจำนวนคะแนนที่นับได้

การลงคะแนนจะมี 2 ขั้นตอน คือ

1. การลงคะแนน
2. การตรวจสอบและทำการยืนยันการลงคะแนน

เมื่อเราทำการลงคะแนนเรียบร้อยระบบจะทำลาย Private Key ที่ใช้แล้วทิ้งไป แปลว่าจะไม่มีใครสามารถเข้าถึง Wallet Address ของคุณได้อีก

การโอน Token จาก Wallet ของผู้มีสิทธิลงคะแนน ไปยัง Wallet ของผู้สมัคร จะมีเพียงฝั่งผู้สมัครเท่านั้นที่ประกาศ Address ของตน ส่วนฝั่งผู้มีสิทธิลงคะแนน จะไม่มีการ Map กับ Identity ของผู้มีสิทธิลงคะแนน ดังนั้นจะไม่สามารถตรวจสอบในแต่ละ คะแนนได้ว่าใครเป็นผู้ลงคะแนน (Blind Voting)

ขั้นตอนสุดท้ายเครื่องพิมพ์จะพิมพ์ Passphrase เป็นคำภาษาอังกฤษ 12 คำ และ/หรือ QR Code ซึ่งไม่มีส่วนใดของเอกสารที่ระบุว่าเกี่ยวกับตัวคุณ

12-word passphrase
QR Code

Passphrase / QR Code นี้จะเก็บไว้เพื่อตรวจสอบผลการลงคะแนนของคุณเท่านั้น เมื่อตรวจสอบกับระบบจะพบว่าผลการลงคะแนนของคุณจะตรงตามที่คุณเลือก 100% ไม่มีเปลี่ยนแปลง

กรณีจำได้แล้วหรือถ้าคุณไม่ต้องการเก็บมันก็สามารถทำลายทิ้งได้ทันที

5. ระบบการประมวลผลคะแนนและโครงสร้างระบบ

ทุกๆ Transaction (tx) ที่เกิดขึ้นในระบบจะถูกบันทึกเป็นการโอน Token จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าสู่ Wallet Address ของผู้สมัคร

รายการ tx-in หรือ รายการโอน Token เข้าสู่ Wallet Address ของผู้สมัครทั้งหมด คือ คะแนนเสียงทั้งหมดที่ผู้สมัครได้รับ

จะไม่มีรายการโอนออกใดๆ เกิดขึ้นเพราะว่า Private Key ของผู้สมัครทุกคนถูกทำลายไปแล้ว

การตรวจสอบคะแนนสามารถทำได้ทันทีที่ปิดหีบ หรือ หมดเวลาเลือกตั้ง แปลว่าเราจะได้ผลการเลือกตั้งทันที โดยไม่ต้องนับคะแนน

ใครบ้างที่สมควรติดตั้ง Blockchain Node?

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งและหน่วยงานราชการสำคัญๆ เช่น กกต., ปปช., กรมการปกครอง, พรรคการเมือง, รัฐวิสาหกิจ และเอกชน ฯลฯ

Blockchain Network ที่ยิ่งมีจำนวน Node สูง ก็จะมียิ่งมี Integrity สูง ความเชื่อมั่นของระบบก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย

คนที่สามารถเข้าถึง Blockchain Network ได้สามารถตรวจสอบคะแนนเสียงของผู้สมัครแต่ละท่านได้ทันที โดยไม่มีข้อจำกัดใดๆ

ทั้งหมดเป็นเพียงตัวอย่างการออกแบบระบบเลือกตั้ง โดยการนำเอา Technology ต่างๆ เข้ามา Implement ใช้ เช่น Blockchain หรือ Biometrics Recognition เป็นต้น

ได้แต่หวังว่าเราจะได้ใช้ระบบแบบนี้ในการเลือกตั้งครั้งต่อไปของไทย :)

--

--

Pakorn AJ Leesakul
Pakorn AJ Leesakul

Written by Pakorn AJ Leesakul

Entrepreneur, Tech, Digital, Blockchain, Quantum, Transform, Wisdom, Digital Identity, Self-Sovereign Identity, Futurist

Responses (1)